วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Green Supply Chain เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดูเหมือนว่า ในปัจจุบันนี้หลักการของ “Industrial Ecology (นิเวศน์อุตสาหกรรม)” จะเป็นที่สนใจในแวดวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทัง้ภาครัฐและเอกชนได้พยายามรณรงค์ ส่งเสริม หรือออกระเบียบข้อบังคับ (Directive) ให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด การเคลื่อนย้ายจัดเก็บและจัดส่งที่ประหยัดพลังงาน ตลอดจนการนำสินค้าที่ทิ้งแล้วกลับมาใช้ใหม่หรือฝังกลบ ทั้งหมดนี้เกิดจากสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) กระจายไปทั่วโลก


สำหรับผู้ประกอบการชาวไทยก็ได้รับผลกระทบจากกฏระเบียบหรือมาตรการต่างๆ มากมาย เช่น ข้อกำหนด RoHS1 ที่ระบุถึงสารอันตราย 6 ชนิดในการห้ามนำเข้ากลุ่มประเทศ EU ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการส่งออกชาวไทยบางรายต้องหาสารทดแทนสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เป็นต้น ในอนาคตกฏระเบียบหรือมาตรการต่างๆ จะมีความเข้มข้นมากขึน้ และถูกใช้ไปกับคู่ค้าต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นผู้ประกอบการชาวไทยจึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้ทันเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในโลกอนาคต

นอกจากกฏระเบียบหรือข้อบังคับทางสิ่งแวดล้อมแล้ว ภาคอุตสาหกรรมยังได้รับการรณรงค์หรือส่งเสริมเพื่อให้เป็นองค์กรสีเขียว โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดการปล่อยกาซเรือนกระจก (Green House Gas) โดยเฉพาะกาซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ทั้งนี้มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน (Sustainability) และการได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและสังคม

กลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อกฏระเบียบข้อกำหนดต่างๆ และมุ่งสู่ “องค์กรแห่งความยั่งยืน” ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายคือ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management: GSCM) ซึ่งกล่าวโดยรวมก็คือ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการคำ นึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ตลอดโซ่อุปทานตัง้แต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) หรือฝังกลบด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักปรัญชา “โลกคืนสู่โลก (Earth to the Earth)” โดยกลยุทธ์ GSCM นี้ จะเกี่ยวข้องกับคู่ค้ามากมาย เช่น ผู้ส่งมอบ ผู้ออกแบบผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่ง และผู้ค้าปลีก เป็นต้น



                                    ภาพที่ 1 แสดงการปล่อยของเสียและ CO2 ของโซ่อุปทาน


                                               ภาพที่ 2 แนวคิดของ Green Supply Chain

ภาพที่ 1 แสดงถึงการใช้พลังงานเพื่อการเคลื่อนย้าย ขนส่งและแปรรูปตลอดโซ่อุปทาน ซึ่งสมาชิกทุกหน่วยจะมีการปลดปล่อยกาซ CO2 และของเสีย (Waste) ออกมาด้วย ในอดีตภาคอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นแต่การลดต้นทุนเป็นสำคัญตามแนวคิดของ “การเพิ่ม Productivity” และละเลยสิ่งปลดปล่อยอื่นๆ เช่น ของเสียและกาซเรือนกระจก เป็นต้น แต่แนวคิดใหม่ของการเพิ่มผลผลิตจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดของ “Green Supply Chain Management” และ “Green Productivity (GP)” ขึน้ ซึ่งส่งผลให้คู่ค้าทั้งหลายควรร่วมมือและประสานงานกันเพื่อดำเนินมาตรการที่เป็นมิตรต่อสงิ่ แวดล้อมมากขึน้ โดยมีแนวทางหลัก 6 ส่วน (ภาพที่ 2) ดังต่อไปนี้

Green Supply หรือบางโอกาสเรียกว่า Green Procurement คือ ความพยายามในการจัดซื้อ จัดหาจากผู้ส่งมอบสีเขียว (Green Supplier) ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ระบบ Paperless เป็นต้น ตลอดจนการซื้อวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การซื้อกระดาษที่รีไซเคิลได้ 100% ของหน่วยงานในรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้องค์กรควรมีการจัดการความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบที่ดีหรือที่เรียกว่า Supplier Relationship Management (SRM)

โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) คือ ความพยายามในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บหรือขนส่ง วัตถุดิบผลิตภัณฑ์ หรือซากผลิตภัณฑ์ โดยมีต้นทุนและการปล่อยกาซเรือนกระจกน้อยที่สุด ทั้งนี้องค์กรควรออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้ายขนส่งและจัดเก็บ เลือกรูปแบบการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งที่เหมาะสม ลดการบรรทุกไม่เต็มพาหนะและการวิ่งเที่ยวเปล่า จัดสินค้าขึ้นรถและเส้นทางขนส่งอย่างชาญฉลาด (Intelligent System) ใช้การขนส่งแบบ Milk Run เลือกใช้ขนาดรถและเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ติดอุปกรณ์ช่วยลดแรงเสียด อบรมพนักงานให้ขับรถอย่างถูกวิธี (Eco-drive) ตลอดจนการวางตำแหน่งศูนย์กระจานสินค้าที่เหมาะสม

Green Design หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ (Eco-design) คือ การนำความมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงการปล่อยกาซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Assessment; LCA) เริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดวัตถุดิบการจัดหาและการผลิต การขนส่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การใช้งานของลูกค้าและการนำซากกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือฝังกลบ ให้ตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์มีการปล่อยกาซ CO2 ออกสู่บรรยากาศน้อยที่สุด ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรได้รับการส่งเสริมให้ติดฉลากสีเขียว (Green Label) เพื่อสื่อสารให้สังคมทราบ

Green manufacturing หรือการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) โดยมุ่งใช้ปัจจัยการผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำ กำ ไรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้หลักการของ 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยมุ่งเน้นที่การลดความสูญเสีย (Waste) ที่แหล่งกำเนิดเป็นหลัก (Source) ไม่ใช่มุ่งปรับปรุงที่ภายหลังกระบวนการ

Green Consumption คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีและมีการใช้อย่างเหมาะสม ก็จะปลดปล่อยกาซ CO2 อยู่ในปริมาณที่คาดการณ์ไว้ ผู้ผลิตควรสื่อสารถึงผู้บริโภคถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกวิธีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหมาะสม (Customer Relationship Management; CRM)

Green Recycling คือ การนำซากของผลิตภัณฑ์กลับมารีไซเคิล ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีสารมลพิษก็จะสร้างความยุ่งยากต่อการกำจัดและการรีไซเคิล วิศวกรผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ควรได้รับการอบรมเรื่องการถอดประกอบซากผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบ ทั้งนี้เพื่อให้การถอดประกอบซากเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ความพยายามและพลังงานน้อยที่สุด

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างขององค์กรระดับโลกที่พยายามดำเนินกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน

โปรแกรมซัพพลายเชนคาร์บอนเช็คของ MAERSK LOGISTICS ซึ่งมุ่งมั่นให้ลูกค้าของบริษัทเป็น “องค์กรสีเขียว” ตามหลักการ “Become Greener” โดยโปรแกรมจะเริ่มจากการวิเคราะห์ถึงต้นทุนและปริมาณปลดปล่อย CO2 ของวิธีการขนส่งปัจจุบันของลูกค้า นำเสนอวิธีการขนส่งใหม่ที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึน้ จากนัน้ ประเมินผลการประหยัดเป็นเชิงปริมาณและนำไปประยุกต์ใช้จริง (ภาพที่ 3)




                                   ภาพที่ 3 โปรแกรมซัพพลายเชนคาร์บอนเช็คของ MAERSK

แนวคิด “โรงงานแห่งความยั่งยืนของ Toyota” ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมหลัก 3 ส่วน คือ 1. การลดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ 2. การใช้พลังงานทดแทน 3. การฟื้นฟูป่าดั้งเดิม (ภาพที่ 4)

                                   ภาพที่ 4 สามแนวทางสู่โรงงานแห่งความยั่งยืนของ Toyota

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวทำให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด สามารถปรับปรุงกระบวนผลิตและการขนส่งของบริษัท เช่น การปรับปรุงด้านการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศ การลดจำนวนเที่ยวในการขนส่งโดยใช้รถขนส่งขนาดใหญ่ขึ้น การคัดเลือกสถานที่ผลิตชิ้นส่วนที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อลดการขนส่ง และการเปลี่ยนชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ทั้งนี้บริษัทสามารถลดการปล่อยกาซ CO2 (CO2- Equivalence) ได้มากกว่า 50 ตันต่อเดือน

นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วยังมีองค์กรระดับโลกอีกมากมายที่ดำเนินกิจกรรมหลากหลายเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green Plan ของพานาโซนิค, โครงการEASTER ของโตชิบา, Environment Sustainability ของมิตซูบิชิ, CSR ของโซนี่ เป็นต้น การดำเนินกิจกรรมสีเขียวเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการชาวไทยที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM) หรือรับจ้างขนส่งให้กับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการชาวไทยเพื่อรองรับต่อกระแสสภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคสื่อสารมวลชน ควรทำหน้าที่ในการสื่อสาร รณรงค์ให้ข้อมูลและความรู้กับสังคมชาวไทย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนและแข่งขันอยู่ในเวทีโลกอนาคตได้

Footnote

1RoHS คือ Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนด (Directive) ของ EU เรื่องข้อจำกัดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมี 6 ชนิด คือ Lead (Pb), Mercury (Hg), Cadmium (Cd), Hexavalent Chromium (Cr6+), Polybrominated Biphenyls (PBB), Polybrominated Diphenyl Ether (PBDE) นอกจาก RoHS แล้ว ในปัจจุบันยังมีข้อกำหนดหรือระเบียบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น WEEE, IPP, EuP, REACH เป็นต้น

ที่มา http://www.thaicostreduction.com วันที่ 30 กันยายน 2552




วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมหลักในห่วงโซ่อุปทาน


กิจกรรมหลักในห่วงโซ่อุปทาน
ความสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
          สินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ผลิตออกสู่ตลาดจะต้องผ่านทุกจุดหรือหน่วยต่างๆ ตลอดทั้งสายของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นคุณภาพของสินค้าและบริการนั้น จะขึ้นอยู่กับทุกหน่วยมิใช่หน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้มีแนวความคิดในการบูรณาการทุกๆ หน่วยเพื่อให้การผลิตสินค้าหรือบริการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามที่ลูกค้าคาดหวัง ดังเช่น น้ำมันปาล์มประกอบอาหาร ในสายของห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยผู้ส่งมอบซึ่งมักจะเป็นเกษตรกรผู้นำผลปาล์มมาส่งให้กับโรงงานหีบเพื่อนำน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์ม ในขั้นตอนต่อไปน้ำมันปาล์มดิบก็จะถูกส่งต่อให้โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับใช้ประกอบอาหาร น้ำมันปาล์มประกอบอาหารนี้ก็จะถูกบรรจุในลังกระดาษและถูกส่งออกจากโรงงานและส่งต่อไปยังผู้ประกอบการรายต่อไป เช่น ผู้ดำเนินการซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกย่อย เพื่อที่จะนำไปวางขายบนชั้นวางของตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกย่อยเพื่อให้ผู้บริโภคได้มาทำการเลือกซื้อสินค้า จากตัวอย่างขั้นต้นจะเห็นว่า ทุกๆจุดในสายของห่วงโซ่อุปทานมีผลต่อคุณภาพของน้ำมันปาล์มประกอบอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่กำลังเลือกซื้อสินค้า
ห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยจุดที่สำคัญๆ คือ
          ผู้ส่งมอบ (Suppliers) หมายถึงผู้ที่ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงานหรือหน่วยบริการ เช่น เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังหรือปาล์ม โดยที่เกษตรกรเหล่านี้จะนำหัวมันไปส่งโรงงานทำแป้งมันหรือโรงงานทำกลูโคส หรือนำผลปาล์มไปส่งที่โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น
          โรงงานผู้ผลิต (Manufacturers) หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการแปรสภาพวัตถุดิบที่ได้รับจากผู้ส่งมอบ ให้มีคุณค่าสูงขึ้น
          ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers) หมายถึงจุดที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าที่ศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งๆ อาจจะมีสินค้าที่มาจากหลายโรงงานการผลิต เช่นศูนย์กระจายสินค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะมีสินค้ามาจากโรงงานที่ต่างๆกัน เช่น โรงงานผลิตยาสระผม, โรงฆ่าสัตว์, เบเกอรี่ เป็นต้น
         ร้านค้าย่อยและลูกค้าหรือผู้บริโภค (Retailers or Customers) คือจุดปลายสุดของโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นจุดที่สินค้าหรือบริการต่างๆจะต้องถูกใช้จนหมดมูลค่าและโดยที่ไม่มีการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆ
กิจกรรมหลักในห่วงโซ่อุปทาน
                 การจัดหา (Procurement) เป็นการจัดหาวัตถุดิบหรือวัสดุที่ป้อนเข้าไปยังจุดต่างๆในสายของห่วงโซ่อุปทาน จากตัวอย่างข้างต้น หากโรงงานได้ผลปาล์มที่มีคุณภาพต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย ก็จะส่งผลต่อคุณภาพและต้นทุน ฉะนั้น การจัดหาก็ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะส่งผลต่อคุณภาพและต้นทุนการผลิต
                 การขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าของสินค้าในแง่ของการย้ายสถานที่ หากน้ำมันปาล์มประกอบอาหารถูกขายอยู่ที่หน้าโรงงานผลิตอาจจะไม่มีลูกค้ามาซื้อเลยก็ได้ อีกประการหนึ่งก็คือ หากการขนส่งไม่ดี สินค้าอาจจะได้รับความเสียหายระหว่างทางจะเห็นว่าการขนส่งก็มีผลต่อต้นทุนโดยตรง
                 การจัดเก็บ (Warehousing) เป็นกิจกรรมที่มิได้เพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าเลย แต่ก็เป็นกิจกรรมที่ต้องมีเพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่ไม่คงที่ รวมทั้งประโยชน์ในด้านของการประหยัดเมื่อมีการผลิตของจำนวนมากในแต่ละครั้ง หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีปริมาณวัตถุดิบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพลม ฟ้า อากาศ
                การกระจายสินค้า (Distribution) เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระจายสินค้าจากจุดจัดเก็บส่งต่อไปยังร้านค้าปลีกหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
แหล่งที่มา: http://logistics.arch56.com/?p=153

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์


กิจกรรมหลักที่สำคัญ

1.     การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
2.     การหาทำเลที่ตั้งของอาคาร โรงงาน คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ร้านสาขา
3.     การจัดซื้อจัดหา
4.     การจัดการวัตถุดิบขาเข้า
5.     การจัดการคลังสินค้า
6.     การจัดการสินค้าคงคลัง วัสดุคงคลัง
7.     การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
8.     การบรรจุหีบห่อ
9.     การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย
10.   การกระจายสินค้า
11.   การขนส่ง
12.   โลจิสติกส์ย้อนกลับ เช่น การจัดการสินค้าเรียกคืน
13.   งานบริการลูกค้า เช่น การจัดคิว
      การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้บรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและการบริการ ตลอดจนการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันในทุกวันนี้ว่า  "โลจิสติกส์"
 ความสำคัญของ "โลจิสติกส์"
 1. โลจิสติกส์สนับสนุนการผลิต
                การจัดหาวัตถุดิบ วัสดุในการผลิตเป็นกิจกรรมหนึ่งของโลจิสติกส์ขาเข้า โดยจะต้องมีเพียงพอตามความต้องการแต่ไม่เป็นภาระด้านต้นทุน ประกอบด้วยกิจกรรม การจัดหาหรือจัดซื้อ การขนส่ง วัสดุคงคลัง และการเก็บรักษา ในปัจจุบันการนำการผลิตแบบ Just-in-Time ( JIT ) มาใช้ ยิ่งเพิ่มความท้าทายในการจัดการโลจิสติกส์ขาเข้า เพราะเป็นการผลิตที่ต้องมีวัสดุเพียงพอกับการผลิตแบบวันต่อวัน ไม่มีการเก็บวัสดุคงคลัง (Zero Inventory) เพื่อลดต้นทุนการถือครองวัสดุ
2. โลจิสติกส์สนับสนุนการตลาด
                การนำสินค้าไปยังลูกค้าและผู้ใช้คนสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง สินค้าคงคลัง คลังสินค้าและอื่นๆ กิจกรรมที่กล่าวมานี้เป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านขาออก ที่ให้การสนับสนุนการตลาดในด้านต่างๆ คือ ราคา(Price) ผลิตภัณฑ์ (Product) การส่งเสริมการขาย (Promotion) ช่องทางจัดจำหน่าย(Place)
3. โลจิสติกส์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
              ในยุคแรกๆ การแข่งขันเป็นเรื่องของความได้เปรียบในด้านราคา ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า เนื่องจากคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก  ยุคต่อมาการแข่งขันเป็นเรื่องของความได้เปรียบในด้านคุณภาพ ผู้บริโภคยอมซื้อสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ได้คุณภาพที่ดีกว่า
             ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านราคาและคุณภาพเริ่มไม่แตกต่างกันอีกต่อไป เพราะผู้ผลิตสามารถย้ายฐานการผลิตไปผลิตในประเทศที่ที่ต้นทุนต่ำกว่า ควบคุมมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ การแข่งขันจึงมุ่งไปที่การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เป็นสำคัญ
แหล่งที่มา: http://www.logistics-adviser.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538765858

โซ่อุปทานคืออะไร

                                              
                                                            โซ่อุปทานคืออะไร
               “โซ่อุปทานเป็นคำที่แปลมาแบบเกือบตรงตัวจากคำว่า “Supply Chain” ในภาษาอังกฤษ (Supply = อุปทาน และ Chain = โซ่) คนจำนวนมากยังใช้คำทับศัพท์ตรง ๆ ว่า ซัพพลายเชนในการเขียนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพูด ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติคำว่า Supply Chain เป็นภาษาไทยว่า ห่วงโซ่อุปทาน
                โซ่นั้นประกอบไปด้วยห่วงหลาย ๆ ห่วงมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันจนกลายเป็นโซ่ แล้วแนวคิดเรื่อง Supply Chain นั้นก็เกิดจากการที่หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนห่วงแต่ละห่วงมาทำงานและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน มีการส่งมอบและแลกเปลี่ยนสารสนเทศและพัสดุระหว่างกันและกัน    
                การเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจให้สอดประสานกันอย่างกลมกลืนจนเป็นเสมือนห่วงโซ่ที่ร้อยเรียงเข้าด้วยกันจนเป็นโซ่เส้นเดียวกันที่สามารถส่งต่อคุณค่า (Value) ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานโดยลำพังแบบหัวเดียวกระเทียมลีบของหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียวหรือห่วงโซ่เพียงห่วงเดียว
                หากพิจารณาจากรากศัพท์แล้วก็จะเห็นได้ว่าคำว่า Supply หรือ อุปทาน นั้นเป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นคำที่คู่กัน (หรือตรงข้ามกันแล้วแต่ว่าจะมองอย่างไร) กับคำว่า Demand หรือ อุปสงค์ หรือความต้องการของลูกค้า ส่วนคำว่า Chain ที่แปลตรง ๆ ว่าโซ่ นั้นก็มีนัยถึงเรียงร้อยกระบวนการทางธุรกิจของคู่ค้าทุกรายที่ต่อเนื่องกันจนเป็นเสมือนสายโซ่  



วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โลจิสติกส์ คือ อะไร ?



มารู้จักกับ " โลจิสติกส์ "


       โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า "ศิลปะในการคำนวณ" ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์ คำนิยามที่ใช้นิยามการจัดการโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยามจาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามไว้ว่า "กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค"
กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์


  • งานบริการลูกค้า


  • การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า


  • การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์


  • การจัดซื้อจัดหา


  • การจัดการสินค้าคงคลัง


  • การจัดการวัตถุดิบ


  • การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ


  • การบรรจุหีบห่อ


  • การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ


  • การขนของและการจัดส่ง


  • โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิ เช่น การจัดการสินค้าคืน)


  • การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย


  • การกระจายสินค้า


  • คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง


  • การจราจรและการขนส่ง


  • กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่


  • การรักษาความปลอดภัย
     การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เพื่อบรรลุถึงความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและบริการ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า โลจิสติกส์ สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าเลา ต่าใช้จ่าย, ความเพียรพยายาม และเงินทุนน้อยที่สุด เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล