วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Green Supply Chain เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดูเหมือนว่า ในปัจจุบันนี้หลักการของ “Industrial Ecology (นิเวศน์อุตสาหกรรม)” จะเป็นที่สนใจในแวดวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทัง้ภาครัฐและเอกชนได้พยายามรณรงค์ ส่งเสริม หรือออกระเบียบข้อบังคับ (Directive) ให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด การเคลื่อนย้ายจัดเก็บและจัดส่งที่ประหยัดพลังงาน ตลอดจนการนำสินค้าที่ทิ้งแล้วกลับมาใช้ใหม่หรือฝังกลบ ทั้งหมดนี้เกิดจากสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) กระจายไปทั่วโลก


สำหรับผู้ประกอบการชาวไทยก็ได้รับผลกระทบจากกฏระเบียบหรือมาตรการต่างๆ มากมาย เช่น ข้อกำหนด RoHS1 ที่ระบุถึงสารอันตราย 6 ชนิดในการห้ามนำเข้ากลุ่มประเทศ EU ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการส่งออกชาวไทยบางรายต้องหาสารทดแทนสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เป็นต้น ในอนาคตกฏระเบียบหรือมาตรการต่างๆ จะมีความเข้มข้นมากขึน้ และถูกใช้ไปกับคู่ค้าต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นผู้ประกอบการชาวไทยจึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้ทันเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในโลกอนาคต

นอกจากกฏระเบียบหรือข้อบังคับทางสิ่งแวดล้อมแล้ว ภาคอุตสาหกรรมยังได้รับการรณรงค์หรือส่งเสริมเพื่อให้เป็นองค์กรสีเขียว โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดการปล่อยกาซเรือนกระจก (Green House Gas) โดยเฉพาะกาซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ทั้งนี้มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน (Sustainability) และการได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและสังคม

กลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อกฏระเบียบข้อกำหนดต่างๆ และมุ่งสู่ “องค์กรแห่งความยั่งยืน” ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายคือ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management: GSCM) ซึ่งกล่าวโดยรวมก็คือ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการคำ นึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ตลอดโซ่อุปทานตัง้แต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) หรือฝังกลบด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักปรัญชา “โลกคืนสู่โลก (Earth to the Earth)” โดยกลยุทธ์ GSCM นี้ จะเกี่ยวข้องกับคู่ค้ามากมาย เช่น ผู้ส่งมอบ ผู้ออกแบบผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่ง และผู้ค้าปลีก เป็นต้น



                                    ภาพที่ 1 แสดงการปล่อยของเสียและ CO2 ของโซ่อุปทาน


                                               ภาพที่ 2 แนวคิดของ Green Supply Chain

ภาพที่ 1 แสดงถึงการใช้พลังงานเพื่อการเคลื่อนย้าย ขนส่งและแปรรูปตลอดโซ่อุปทาน ซึ่งสมาชิกทุกหน่วยจะมีการปลดปล่อยกาซ CO2 และของเสีย (Waste) ออกมาด้วย ในอดีตภาคอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นแต่การลดต้นทุนเป็นสำคัญตามแนวคิดของ “การเพิ่ม Productivity” และละเลยสิ่งปลดปล่อยอื่นๆ เช่น ของเสียและกาซเรือนกระจก เป็นต้น แต่แนวคิดใหม่ของการเพิ่มผลผลิตจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดของ “Green Supply Chain Management” และ “Green Productivity (GP)” ขึน้ ซึ่งส่งผลให้คู่ค้าทั้งหลายควรร่วมมือและประสานงานกันเพื่อดำเนินมาตรการที่เป็นมิตรต่อสงิ่ แวดล้อมมากขึน้ โดยมีแนวทางหลัก 6 ส่วน (ภาพที่ 2) ดังต่อไปนี้

Green Supply หรือบางโอกาสเรียกว่า Green Procurement คือ ความพยายามในการจัดซื้อ จัดหาจากผู้ส่งมอบสีเขียว (Green Supplier) ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ระบบ Paperless เป็นต้น ตลอดจนการซื้อวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การซื้อกระดาษที่รีไซเคิลได้ 100% ของหน่วยงานในรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้องค์กรควรมีการจัดการความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบที่ดีหรือที่เรียกว่า Supplier Relationship Management (SRM)

โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) คือ ความพยายามในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บหรือขนส่ง วัตถุดิบผลิตภัณฑ์ หรือซากผลิตภัณฑ์ โดยมีต้นทุนและการปล่อยกาซเรือนกระจกน้อยที่สุด ทั้งนี้องค์กรควรออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้ายขนส่งและจัดเก็บ เลือกรูปแบบการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งที่เหมาะสม ลดการบรรทุกไม่เต็มพาหนะและการวิ่งเที่ยวเปล่า จัดสินค้าขึ้นรถและเส้นทางขนส่งอย่างชาญฉลาด (Intelligent System) ใช้การขนส่งแบบ Milk Run เลือกใช้ขนาดรถและเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ติดอุปกรณ์ช่วยลดแรงเสียด อบรมพนักงานให้ขับรถอย่างถูกวิธี (Eco-drive) ตลอดจนการวางตำแหน่งศูนย์กระจานสินค้าที่เหมาะสม

Green Design หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ (Eco-design) คือ การนำความมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงการปล่อยกาซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Assessment; LCA) เริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดวัตถุดิบการจัดหาและการผลิต การขนส่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การใช้งานของลูกค้าและการนำซากกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือฝังกลบ ให้ตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์มีการปล่อยกาซ CO2 ออกสู่บรรยากาศน้อยที่สุด ด้วยต้นทุนที่เหมาะสมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรได้รับการส่งเสริมให้ติดฉลากสีเขียว (Green Label) เพื่อสื่อสารให้สังคมทราบ

Green manufacturing หรือการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) โดยมุ่งใช้ปัจจัยการผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการทำ กำ ไรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้หลักการของ 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยมุ่งเน้นที่การลดความสูญเสีย (Waste) ที่แหล่งกำเนิดเป็นหลัก (Source) ไม่ใช่มุ่งปรับปรุงที่ภายหลังกระบวนการ

Green Consumption คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีและมีการใช้อย่างเหมาะสม ก็จะปลดปล่อยกาซ CO2 อยู่ในปริมาณที่คาดการณ์ไว้ ผู้ผลิตควรสื่อสารถึงผู้บริโภคถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างถูกวิธีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหมาะสม (Customer Relationship Management; CRM)

Green Recycling คือ การนำซากของผลิตภัณฑ์กลับมารีไซเคิล ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีสารมลพิษก็จะสร้างความยุ่งยากต่อการกำจัดและการรีไซเคิล วิศวกรผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ควรได้รับการอบรมเรื่องการถอดประกอบซากผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการออกแบบ ทั้งนี้เพื่อให้การถอดประกอบซากเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ความพยายามและพลังงานน้อยที่สุด

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างขององค์กรระดับโลกที่พยายามดำเนินกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน

โปรแกรมซัพพลายเชนคาร์บอนเช็คของ MAERSK LOGISTICS ซึ่งมุ่งมั่นให้ลูกค้าของบริษัทเป็น “องค์กรสีเขียว” ตามหลักการ “Become Greener” โดยโปรแกรมจะเริ่มจากการวิเคราะห์ถึงต้นทุนและปริมาณปลดปล่อย CO2 ของวิธีการขนส่งปัจจุบันของลูกค้า นำเสนอวิธีการขนส่งใหม่ที่ลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึน้ จากนัน้ ประเมินผลการประหยัดเป็นเชิงปริมาณและนำไปประยุกต์ใช้จริง (ภาพที่ 3)




                                   ภาพที่ 3 โปรแกรมซัพพลายเชนคาร์บอนเช็คของ MAERSK

แนวคิด “โรงงานแห่งความยั่งยืนของ Toyota” ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมหลัก 3 ส่วน คือ 1. การลดการใช้พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ 2. การใช้พลังงานทดแทน 3. การฟื้นฟูป่าดั้งเดิม (ภาพที่ 4)

                                   ภาพที่ 4 สามแนวทางสู่โรงงานแห่งความยั่งยืนของ Toyota

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวทำให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด สามารถปรับปรุงกระบวนผลิตและการขนส่งของบริษัท เช่น การปรับปรุงด้านการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศ การลดจำนวนเที่ยวในการขนส่งโดยใช้รถขนส่งขนาดใหญ่ขึ้น การคัดเลือกสถานที่ผลิตชิ้นส่วนที่เหมาะสมมากขึ้น เพื่อลดการขนส่ง และการเปลี่ยนชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ทั้งนี้บริษัทสามารถลดการปล่อยกาซ CO2 (CO2- Equivalence) ได้มากกว่า 50 ตันต่อเดือน

นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วยังมีองค์กรระดับโลกอีกมากมายที่ดำเนินกิจกรรมหลากหลายเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green Plan ของพานาโซนิค, โครงการEASTER ของโตชิบา, Environment Sustainability ของมิตซูบิชิ, CSR ของโซนี่ เป็นต้น การดำเนินกิจกรรมสีเขียวเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการชาวไทยที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM) หรือรับจ้างขนส่งให้กับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการชาวไทยเพื่อรองรับต่อกระแสสภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคสื่อสารมวลชน ควรทำหน้าที่ในการสื่อสาร รณรงค์ให้ข้อมูลและความรู้กับสังคมชาวไทย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชาวไทยสามารถมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนและแข่งขันอยู่ในเวทีโลกอนาคตได้

Footnote

1RoHS คือ Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนด (Directive) ของ EU เรื่องข้อจำกัดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมี 6 ชนิด คือ Lead (Pb), Mercury (Hg), Cadmium (Cd), Hexavalent Chromium (Cr6+), Polybrominated Biphenyls (PBB), Polybrominated Diphenyl Ether (PBDE) นอกจาก RoHS แล้ว ในปัจจุบันยังมีข้อกำหนดหรือระเบียบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น WEEE, IPP, EuP, REACH เป็นต้น

ที่มา http://www.thaicostreduction.com วันที่ 30 กันยายน 2552




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น